เรียบเรียงจากบทความของ World Archery ที่ลงใน Archery 360
ในบางประเทศ การยิงธนูประเภท Field เป็นการฝึกยิงธนูที่ได้รับความนิยม แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังไม่รู้จักการยิงธนูในประเภทนี้ เพื่อเป็นการที่เผยแพร่ ทำให้เป็นที่รู้จัก นิยมมากขึ้น และเข้าใจง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่จะเริ่มยิงธนูในประเภท Field บทความนี้เราจะพยายามไข “ความลับ” บางส่วนของการยิงธนูในประเภท Field
บทความนี้เป็นฉบับแก้ไขของ FITA (ชื่อเต็ม – Fédération Internationale de Tir à l’Arc หรือเรียกสั้นๆ ว่า FITA ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น World Archery ในปี 2011) เป็นข้อมูลแนวทางการยิงธนูที่จัดทำโดยคณะกรรมการ FITA – Field Archery
การยิงธนูในประเภท Field Archery มีพื้นฐานเดียวกับการยิงธนู Target และบ่อยครั้งที่จะเห็นว่านักธนูที่เก่งในการยิง Target จะมีความสามารถที่จะยิง Field ได้ดีเช่นเดียวกัน จะอย่างไรก็ดี กับแนวทางทั้งหลายที่จะกล่าวถึงในบทความต่อไปนี้ มันยังคงมีบางประเด็นที่ท่านจะต้องตระหนักไว้เสมอเมื่อยิง Field และนี่เหตุผลที่บทความนี้ถูกเขียนขึ้นมา
ในการยิง Field ประเภทธนูต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎของ FITA สามารถใช้ร่วมแข่งได้ ไม่ว่าจะเป็น : Compound, Recurve, และ Barebow ท่านอาจจะเห็นนักธนูบางท่านใช้คันธนู Longbow และธนู Traditional ชนิดต่างๆ ร่วมลงแข่งขันในระดับชาติ
ธนูประเภท Compound หรือที่เรียกว่า ‘ธนูรอกทดกำลัง’ ส่วนใหญ่จะใช้ Release ในการลั่นยิงและมี Scope ขยายใช้เล็ง นักธนูจะใช้อุปกรณ์เหมือนกับการยิง Target
ธนูประเภท Recurve หรือที่เรียกว่า ‘ธนูโค้งกลับ’จะปล่อยสายยิงคันธนูด้วยนิ้ว เช่นเดียวกับการยิง Target
ธนูประเภท Barebow หรือที่เรียกว่า ‘ธนูพื้นฐาน’ ที่ใช้ในการแข่งขันระดับประเทศ จะปล่อยสายยิงธนูด้วยนิ้ว เช่นเดียวกับธนูประเภท Recurve แต่จะไม่มีศูนย์เล็ง, ไม่มี Stabilizer แม้กระนั้นด้วยเทคนิคในการเล็งยิงก็ต่างจาก Recurve ผู้ยิงสามารถใช้หัวลูกธนูหรือที่วางพักลูกธนูเป็นอุปกรณ์ช่วยเล็งได้ ผู้ยิงธนู Barebow มักจะใช้วิธีการยิง ที่เรียกว่า ‘String Walk’ เพื่อปรับระดับลูกธนูให้สัมพันธ์กับตาที่มองเล็ง หรืออาจจะใช้ตำแหน่ง Anchor Point ระดับต่างๆ หรืออาจจะใช้แบบผสมผสานกันทั้งสองวิธี เพื่อที่จะให้เล็งตำแหน่งกลางเป้าในระยะต่างๆ กันได้ การเข้าตำแหน่ง Anchor Point ต่ำ มักใช้ยิงระยะไกล และเข้าตำแหน่งสูง มักใช้ยิงระยะใกล้
การแข่งขันระดับท้องถิ่น ท่านอาจมีโอกาสเห็นผู้ยิงที่ยิงในแบบ Instinctive หรือที่เรียกว่า ‘ใช้สัญชาตญาณ’ – หมายความว่าผู้ยิงน้าวสายยิงโดยไม่ได้เล็ง ถ้าจะกล่าวให้ถูก คือยิงโดยใช้สัญชาตญาณ เหมือนกับการโยนก้อนหิน
เปรียบ Target กับ Field
ผู้ยิงธนูประเภท Field มียิงทั้งแบบที่รู้ระยะ และไม่รู้ระยะ จาก 5 – 60 เมตร ขึ้นอยู่กับประเภท
ผู้ยิงธนูประเภท Field ต้องฝึกยิงในหลายระยะต่างๆ กัน ตลอดจนฝึกฝนวิธีการกะระยะยิง
การยิงธนูประเภท Target จะยิงเป้าที่จัดวางอยู่ในสนามแนวระนาบพื้นเรียบ และตำแหน่งการยิงเหมือนๆ กัน
การยิงธนูประเภท Field ต้องเดาวิถีในการยิง ขึ้นเนิน–ลงเนิน ด้วยเหตุนี้ผู้ยิง Field จะต้องฝึกตำแหน่งการยืนในลักษณะท่าทางต่างๆ
การยิงธนูประเภท Target ลูกธนูจะถูกยิงออกไปยังตำแหน่งเดียว ในระยะที่ถูกกำหนดไว้ จะมีผลกระทบก็แต่กระแสความแรงของลมเป็นตัวแปร
ในการยิงธนูประเภท Field ลูกธนูจะถูกยิงออกไปยังตำแหน่งที่กำหนดไว้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับมุมเงยมุมยกของการยิง
นักธนูประเภท Field จะต้องรู้ด้วยประสบการณ์ มุมเงยมุมยกเท่าใดที่จะสามารถเพิ่มหรือลดระยะลูกตก เนื่องมาจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง
ด้วยปรกติ นักธนูประเภท Field จะแยกกันยิงเป็นกลุ่มๆ ระหว่างผู้แข่งขันในแต่ละกลุ่ม ในการแข่งขันระดับนานาชาติผู้ชมก็อาจจะร่วมยืนชมอยู่ด้านหลังได้
ในการแข่งขัน นักธนูประเภท Field จึงรู้สึกความกดดันที่น้อยกว่า
ในการยิงธนูประเภท Target สภาวะของแสงและลมมักจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หรือพัดสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน
ในการยิงธนูประเภท Field สภาวะของแสงและลมอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเป้า แต่ละภูมิ แต่ถึงกระนั้นสถานที่แข่งที่มีลมแรง ก็ค่อนข้างหาได้ยาก
นักธนูประเภท Field มักจะหัดยิงในสภาวะลมและแสงต่างๆ กัน เพื่อเรียนรู้วิธีการในการหัดเล็งและยิงในสภาวะเหล่านี้
นักธนูประเภท Target สามารถวางอุปกรณ์ธนูหลายๆ อย่างอยู่ใกล้ๆ ได้
นักธนูประเภท Field ต้องมีการวางแผนและทดสอบ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ เพื่อที่จะเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับ “ทุกเรื่อง”
ผู้ยิงธนูประเภท Field ต้องนำสัมภาระที่คิดว่าจำเป็น ติดตัวไปตลอดการแข่งขัน
ในการยิงธนูประเภท Field โดยหลักแล้วจะใช้ภูมิประเทศที่มีอยู่เดิม และต้องมั่นใจได้ว่าเมื่อผู้ยิงเดินออกจากตำแหน่งยิงของเป้าหนึ่งแล้ว จะต้องไม่อยู่ในแนวยิงของกลุ่มถัดไปที่จะมายิงเป้านั้น
ด้วยการยิง อาจจะให้แต่ละกลุ่มเริ่มยิงพร้อมๆ กัน โดยแยกเป้าไปเริ่มกลุ่มใครกลุ่มมัน การเดินจากเป้าสู่เป้า ผู้ยิงจะต้องปลอดภัยจากแนวยิงและพื้นทางเดินที่ไม่ลื่นล้ม
จำตำแหน่งแนวยิงทุกเป้า:
ในการแข่งขันยิงธนูประเภท Field ไม่ใช่เป็นการแข่งเดินมาราธอนหรือปีนเขาแข่งกัน ถึงจะมีบางภูมิประเทศที่อาจจะต้องปีนป่ายหรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการเดินในพื้นที่ ระยะทางเดินจากเป้าสู่เป้า จึงไม่ควรจัดให้อยู่ห่างกันมากนัก
การยิงขึ้นเนิน – ลงเนิน
ข้อแนะนำกับท่าทางการยืนที่ถูกต้อง ท่าพื้นฐานเหมือนกับ “ตัว T” ซึ่งเป็นท่าของการยิงธนู Target
ในการยิงขึ้นเนินที่ไม่ชันมากนัก – บนพื้นระนาบ – โยกสะโพกของท่านไปข้างหน้าเล็กน้อยก่อนการน้าวสาย
ในการยิงลงเนินที่ไม่ชันมากนัก – บนพื้นระนาบ – โยกสะโพกของท่านไปข้างหลังเล็กน้อยก่อนการน้าวสาย
พยายามรักษาการวางแนวร่างกายช่วงบน ให้ลำตัวและไหล่คงเป็นรูปอักษรตัว T
การยืนยิงแนวขึ้นเนินที่สูงชันขึ้น – บนพื้นระนาบ – ให้เคลื่อนตำแหน่งเท้าใดใดที่อยู่ใกล้เป้า ไปข้างหน้าและโยกตำแหน่งสะโพกของคุณไปข้างหน้าก่อนที่จะเริ่มน้าวสาย
ตัวอย่างข้อผิดพลาดที่พบเห็นบ่อย :
– งอเข่าทำให้การยิงไม่มั่นคง
– สะโพกไม่ได้โยกไปมากพอ จนทำให้แนวไหล่และแขนที่ถือธนูผิดฟอร์มไป
– ระยะน้าวสายที่ตั้งไว้สั้นเกินไป จนบางทีทำให้การปล่อยสายทำได้ไม่ดี
การยิงตัดผ่านเนินลาดเอียง
ข้อแนะนำกับท่าทางการยืนที่ถูกต้อง เมื่อยิงไปยังเป้าที่ตั้งบนทางลาดลงเนิน โอกาสที่ลูกธนูจะปะทะด้านที่เอียงต่ำลงไปของหน้าเป้าจะมีมากกว่า
ซึ่งสาเหตุของการรวมกลุ่มของลูกธนูลักษณะนี้ อาจจะเกิดจากการที่ตัวผู้ยิงเอียงและคันธนูที่ถือในมือก็เอียงไปตามมุมเอียงของเป้า
เมื่อยิงบนพื้นที่เอียง ผู้ยิงมีโอกาสที่จะยืนเอียงโน้มไปตามแนวลาดเอียง
สำหรับผู้ยิงที่ไม่ต้องปรับศูนย์เล็งขณะยิง – ก็เพียงแค่เล็งเป้าเผื่อไปทางด้านขึ้นเนิน หรือเอียงคันธนูตั้งฉากมากขึ้น
เพราะร่างกายยืนโน้มตัวเอียงไปตามแนวลาด ลูกธนูจะเคลื่อนออกแนวลาดตามแรงโน้มถ่วง ผู้ยิงต้องเล็งเผื่อชดเชยในทิศทางตรงกันข้าม
การยืนด้วยท่าทางร่างกายให้ตั้งฉาก จะช่วยลดผลกระทบจากการยิงลงเนิน (Downhill Effect)
– พยายามหาระดับของพื้นที่ยืน ให้ได้ระนาบที่สุดเท่าที่จะหาได้ คุณสามารถที่จะเลือกยืนโดยขยับตำแหน่ง ว่าจะค่อนไปทางด้านหลังของเส้นยิงเพียงเล็กน้อย หรือย้ายไปยืนอีกด้าน ณ จุดใดใดรอบหมุดที่กำหนด ซึ่งถูกปักไว้เป็นจุดยิง คุณสามารถทำได้ตราบใดที่ไม่ไปยืนล้ำบังตำแหน่งการยิงของผู้อื่น
– เตรียมการยิงโดยเอียงปลายคันธนูด้านบนให้ได้ฉากในแนวระดับความเอียงของเนิน เมื่อน้าวสายสุดระยะ เช็คแนวคันกับต้นไม้ที่ตั้งตรง หรืออาจจะใช้วิธีวาดเส้นสมมติเป็นแนวตั้งผ่ากลางเป้าที่เล็งก็ได้ สำหรับผู้ยิงธนูประเภทรอกทดกำลัง Compound ควรสังเกตแนวลาดเอียง กับสโคปศูนย์เล็ง ซึ่งมักจะมีตัวบอกระดับน้ำติดตั้งไว้ ให้เริ่มต้นโดยการเอียงคันธนูเพื่อหาแนวลาดของเนินก่อนเสมอ ทำอย่างนี้จะลดโอกาสที่จะยิงลูกเอียงออกนอกแนวลาดได้
– ตั้งลำตัวให้ตรง ได้ฉาก และให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ยืนเอียงลงแนวเนิน
– ถ้าคุณไม่สามารถที่จะยืนลำตัวตั้งตรงได้และคันธนูกำลังเอียง คุณก็ควรที่จะเล็งเผื่อขึ้นไปด้านบนเล็กน้อยในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวที่เอียงลาดลง ยิ่งระยะยิงไกลขึ้น คุณก็ต้องเล็งเผื่อมากขึ้นไปด้วย